แผนที่ท่องเที่ยวในชุมชนตำบลวังตะกู

ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการสนับสนุน ส่งเสริมการท่องเที่ยว ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สามารถดึงความได้เปรียบของทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือในชุมชนมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มเป็นแหล่งสร้างรายได้ของประชาชนในท้องถิ่นได้ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู จึงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน โดยอยากจะกระตุ้นประชาชนในพื้นที่ตำบลวังตะกู เกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน โดยมุ่งเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีไว้ให้กับคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ โดยนำจุดแข็งของพื้นที่ชุมชนตำบลวังตะกู คือ การมีศักยภาพพื้นที่ในชุมชนที่มีความหลากหลายอยู่ใกล้ชุมชนเมือง
การคมนาคมสะดวก ซึ่งประกอบไปด้วย สถานปฏิบัติธรรมและแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา มีเส้นทางแหล่งน้ำสายสำคัญในจังหวัดนครปฐมที่ไหลผ่านตำบลวังตะกู ได้แก่ คลองเจดีย์บูชา วิถีชีวิตผู้คน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขนบธรรมเนียม ประเพณี อาหาร การแต่งกาย และวัฒนธรรมของชุมชน เป็นต้น แต่ปัญหาหลักในปัจจุบันของชุมชนตำบลวังตะกูยังขาดการรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจน การมองภาพรวมของชุมชนอย่างเป็นระบบ
การสร้างความเชื่อมโยงข้อมูลและการมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันของคนทั้งชุมชน ก่อเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตำบลวังตะกู จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตำบล
วังตะกู โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมในชุมชน เน้นให้ทุกคนต้องมีส่วนรวมกันในการจัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของในการจัดการ ดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่
ผู้มาเยือน จะเห็นได้จากยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์ ต่อยอด และถ่ายทอด “วัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Culture)” ซึ่งปรากฏในแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมบนพื้นฐานของ
ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อัตลักษณ์ของสังคมและชุมชน ศิลปวัฒนธรรม และ
การบริหารจัดการนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น จากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการพัฒนา
การท่องเที่ยวเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน แนวทางสำคัญยิ่งของการให้ชุมชนได้เรียนรู้ตนเอง เข้าใจตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในมิติการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมนั้น ผู้คนในพื้นที่จึงควรได้รับความรู้ความเข้าใจที่จะมองเห็นคุณค่าของตนอันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่น และถือเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ (แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ (๗) พ.ศ.๒๕๖๒) ส่วนที่ ๓ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา ๖6 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งใน
ด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมาตรา 68 (8) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้
แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา 16 (8) การส่งเสริมการท่องเที่ยว

          กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจใน
เรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนตำบลวังตะกู สำรวจ และวิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนตำบลวังตะกู และร่วมกันสร้างแผนที่ชุมชน หรือที่กล่าวในนามว่า แผนที่เดินดิน (Geo-Social Mapping) ซึ่งเปรียบเสมือนบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่ความเข้าใจชุมชน ช่วยให้มองเห็นภาพรวมความเป็นชุมชน การมองเห็นพื้นที่ทางกายภาพและเข้าใจพื้นที่ทางสังคม ทั้งนี้เพราะการทำแผนที่ชุมชนเป็นกิจกรรมทางสังคมที่สร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน โดยต้องการให้คนในชุมชนและคนในกลุ่มวัฒนธรรมเดียวกันยอมรับและพร้อมเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม สร้างความภาคภูมิใจต่อการวางแผนจัดการวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งจะมีผลในด้านการอนุรักษ์ การพัฒนา การขยายผลทางวัฒนธรรม สามารถเปิดโอกาสในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้เกิดเป็นรูปธรรมในชุมชนต่อไป ดังนั้นจุดตั้งต้นของแผนที่ชุมชนของตำบลวังตะกู
จะเป็นฐานการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนตำบลวังตะกู อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม และดำเนินการต่อเนื่อง โดยอาศัยกลุ่มเยาวชนที่จะเป็นกล่องข้อความ: - 2 -ผู้สานต่อ สืบทอดคุณค่าของพื้นที่ให้คนภายนอกได้ร่วมเรียนรู้บนพื้นฐานการมองเห็นคุณค่า ความภาคภูมิใจ การเคารพในศักดิ์ศรีและวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อการบอกเล่าเรื่องราวผู้คน สถานที่วิถีความเป็นอยู่ในแบบเรียบง่ายที่แฝงด้วยเอกลักษณ์ ความสัมพันธ์ของผู้คน รวมทั้งองค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่จะช่วยให้คนภายนอกได้รู้จักชุมชนตำบลวังตะกูมากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางนำไปสู่นโยบายท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ระบบเศรษฐกิจ และมิติสังคมของผู้คนในชุมชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไปได้อย่างมีศักยภาพ