ข้อมูล อบต.

ประวัติความเป็นมา

     ตามประวัติหลักฐานเดิมเรียกว่า ตำบล “บางตะกู” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วังตะกู” คำว่า “วัง” มาจากบริเวณหน้าวัดเป็นลำน้ำและบริเวณนั้นเป็นส่วนน้ำไหลวน โบราณเรียกว่า “วังน้ำ” ประกอบกับบริเวณแถบนั้นมีต้นตะกูอยู่มาก จึงเรียกตำบลนี้ว่า ตำบลวังตะกู องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูเดิมเป็น
สภาตำบลวังตะกู ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19
เดือน มกราคม พ.ศ. 2539 มีที่ตั้งสำนักงาน ประจำอยู่ที่ เลขที่ 68 หมู่ที่ 4 ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
 


















































วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์

"วังตะกูน่าอยู่  สาธารณูปโภคครบครัน  ชุมชนเข้มแข็ง

สุขภาพแข็งแรง  สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ  เศรษฐกิจพอเพียง"

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริการสาธารณะ

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและสาธารณสุข

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี

เป้าประสงค์

1. ระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคสาธารณูปการมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต

2. เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการพัฒนาอาชีพ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งเสริมการผลิตผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ

3. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษาให้เกิดความสมดุลอย่างมีคุณภาพ ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

4. พัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองทางสังคม แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็ก และสตรี

5. การจัดการด้านสาธารณสุข กีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม มีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

6. การพัฒนาด้านการศึกษามีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน เด็ก เยาวชน และประชาชน มีศักยภาพในการเรียนรู้

7. ทำนุบำรุงรักษาศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และค่านิยมที่ดีงาม ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

8. ระบบการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนา

 































ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
หมู่ที่ 1 บ้านปิ่นเกลียว 688 366 451 817 คน
หมู่ที่ 2 บ้านวังตะกู 514 467 543 1,010 คน
หมู่ที่ 3 บ้านบ่อด่าน 221 332 345 677 คน
หมู่ที่ 4 บ้านคลองน้ำเค็ม 308 390 450 840 คน
หมู่ที่ 5 บ้านคลองน้ำเค็ม 215 276 330 606 คน
หมู่ที่ 6 บ้านกิโลห้า 817 549 564 1,113 คน
หมู่ที่ 7 บ้านท่าขี้เหล็ก 176 213 253 466 คน
หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งรางเทียน 422 380 446 826 คน
ข้อมูลรวม : คน






























สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
     ตามประวัติหลักฐานเดิมเรียกว่า ตำบล “บางตะกู” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วังตะกู” คำว่า “วัง” มาจากบริเวณหน้าวัดเป็นลำน้ำและบริเวณนั้นเป็นส่วนน้ำไหลวน โบราณเรียกว่า “วังน้ำ” ประกอบกับบริเวณแถบนั้นมีต้นตะกูอยู่มาก จึงเรียกตำบลนี้ว่า ตำบลวังตะกู องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูเดิมเป็น
สภาตำบลวังตะกู ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 19 เดือน มกราคม พ.ศ. 2539 มีที่ตั้งสำนักงาน ประจำอยู่ที่ เลขที่ 68 หมู่ที่ 4 ตำบลวังตะกู อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
     ตำบลวังตะกู อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม ประมาณ 8 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 4,741 ไร่ หรือประมาณ 8.75 ตารางกิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
     ทิศเหนือ        ติดต่อกับตำบลทัพหลวง         อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม
     ทิศใต้            ติดต่อกับตำบลนครปฐม          อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม
     ทิศตะวันออก   ติดต่อกับตำบลนครปฐม          อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม
     ทิศตะวันตก     ติดต่อกับตำบลหนองปากโลง   อำเภอเมืองนครปฐม   จังหวัดนครปฐม
 
ลักษณะภูมิประเทศ
     ลักษณะภูมิประเทศตำบลวังตะกู สภาพทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าเขา เหมาะแก่การเพาะปลูกมีคลองธรรมชาติ 2 คลอง คือ คลองเจดีย์บูชา และคลองวังตะกู มีคลองชลประทาน 2 คลอง จึงทำให้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี
 
ลักษณะภูมิอากาศ
     สภาพภูมิอากาศของตำบลวังตะกู มีสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่วไปอยู่ในเขตร้อนชื้น มีฝนตกชุกในฤดูฝน จากสถิติข้อมูลปริมาณน้ำฝนของจังหวัดนครปฐม โดยใช้ข้อมูลของสถานีอุตุนิยมวิทยานครปฐม ย้อนหลัง 5 ปี (2556 - 2560) พบว่าปริมาณน้ำฝนจะอยู่ในช่วง 700 – 1,300 มิลลิเมตร
ฝนตกมากที่สุดปี 2560 วัดได้ 1,228.0 มิลลิเมตร ส่วนฝนตกน้อยที่สุดในปี 2557 วัดได้ 795.7 มิลลิเมตร 
     จากสถิติข้อมูลอุณหภูมิของจังหวัดนครปฐม อุณหภูมิในปี 2560 ปรากฏว่าอุณหภูมิโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีฝนตกในฤดูฝน ฤดูหนาวไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ย 28.54 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด วัดได้ 38.80 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด วัดได้ 13.50 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์
มีค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปี ประมาณ 21 เปอร์เซ็นต์
     ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล มี 3 ฤดู ดังนี้
  • ฤดูร้อน  อากาศจะร้อนและแห้ง เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน  เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนทิ้งช่วงในระยะเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งในระยะเดือนที่ฝนทิ้งช่วงนี้ จะยังคงมีฝนตก แต่ปริมาณของน้ำฝนอาจไม่เพียงพอต่อการเกษตร
  • ฤดูหนาว  อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงที่อากาศหนาวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม
ลักษณะของดิน
     ลักษณะของดินในพื้นที่โดยทั่วไปเป็นดินเหนียว และดินปนทราย
 
ลักษณะของแหล่งน้ำ
     มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน ได้แก่ คลองเจดีย์บูชา และ คลองวังตะกู และมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 3 ประเภท คือ
     1. คลองส่งน้ำชลประทาน 2 คลอง เพื่อใช้ในการเกษตร
     2. แหล่งน้ำจากบ่อบาดาลเพื่อใช้ในการเกษตร
     3. แหล่งน้ำจากระบบประปาผิวดิน องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค
 
ลักษณะของไม้และป่าไม้
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูไม่มีพื้นที่ป่าไม้
 






























การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง
     ตำบลวังตะกูประกอบด้วยจำนวนหมู่บ้าน  8  หมู่บ้าน รวม  3,361  หลังคาเรือน ได้แก่
          หมู่ที่ 1 บ้านปิ่นเกลียว จำนวน 688 หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 2 บ้านวังตะกู จำนวน 514 หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 3 บ้านบ่อด่าน จำนวน 221 หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 4 บ้านคลองน้ำเค็ม จำนวน 308 หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 5 บ้านคลองน้ำเค็ม จำนวน 215หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 6 บ้านกิโลห้า จำนวน 817 หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 7 บ้านท่าขี้เหล็ก จำนวน 176 หลังคาเรือน
          หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งรางเทียน จำนวน 422 หลังคาเรือน
     ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน มกราคม พ.ศ. 2567
 
การเลือกตั้ง
     การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูจะประกอบด้วยผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 1 คน รวม 8 คน
 






























สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

สภาพเศรษฐกิจ
 
การเกษตร
     ประชาชนในตำบลวังตะกูมีการประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม ที่สำคัญได้แก่ ทำนา สวนชะอม และปลูกพืชผักสวนครัว
 
การประมง
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูมีประชาชนขึ้นทะเบียนทำการประมง จำนวน  5  ราย
 
การปศุสัตว์
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูมีประชาชนทำการปศุสัตว์ จำนวน  24  ราย ประกอบด้วย 
     - การเลี้ยงสุกร จำนวน  11  ราย (ประมาณ  4,500  ตัว)
     - การเลี้ยงไก่ จำนวน 9  ราย (ประมาณ  10,000  ตัว)
     - การเลี้ยงโค จำนวน 4  ราย (ประมาณ  100  ตัว)
 
การบริการ
     - ที่พัก (ห้องเช่า / บ้านเช่า) 90   แห่ง
     - โรงแรม / รีสอร์ท   1   แห่ง
     - ร้านบริการทำผม เสริมสวย   9   แห่ง
     - ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์   5   แห่ง
     - อู่ซ่อมรถยนต์ 12   แห่ง
     - สถานที่จำหน่ายปลีก สินค้าอุปโภคบริโภค 67   แห่ง
       (ร้านขายของชำ / 7 - Eleven)
     - สถานีบริการน้ำมัน     4   แห่ง
 
การท่องเที่ยว
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่มีสถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เช่น วัดวังตะกู เป็นต้น
 
อุตสาหกรรม
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูมี โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน  16  แห่ง
 
การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
     -  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวังตะกู
     -  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มวังตะกูพัฒนาการเกษตร
 
สภาพทางสังคม
 
อาชญากรรม
     ในเขตพื้นที่ไม่มีเหตุอาชญากรรมร้ายแรงเกิดขึ้น เหตุที่เกิดส่วนใหญ่จะเป็นการลักขโมยทรัพย์สินประชาชน  ซึ่งในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู มีที่พักสายตรวจประจำตำบล  1  แห่ง  
 
ยาเสพติด
     ไม่พบปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู
 
การสังคมสงเคราะห์
     องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูได้ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ ดังนี้
     1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ (จำนวน 914 คน) ผู้พิการ (จำนวน 107 คน)
         และผู้ป่วยโรคเอดส์ (จำนวน 1 คน)
     2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
     3. มีการบรรจุโครงการจัดหาอาชีพเสริมสำหรับผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสในแผนพัฒนาท้องถิ่น
 

 































สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา
     - โรงเรียนประถมศึกษา  2  แห่ง คือ โรงเรียนวัดวังตะกู และโรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม
     - โรงเรียนมัธยมศึกษา  1  แห่ง คือ โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา
     - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.วังตะกู  2  แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดวังตะกู และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดวังตะกู 2
     - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 8   แห่ง
 
การนับถือศาสนา
     ประชาชนส่วนใหญ่ในตำบลวังตะกูนับถือศาสนาพุทธ โดยมีข้อมูลศาสนสถาน ดังนี้
     - วัด (วัดวังตะกู) 1   แห่ง
     - ศาลเจ้า  5   แห่ง
 
ประเพณีและงานประจำปี
     - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ เดือน มกราคม
     - ประเพณีวันสงกรานต์ เดือน เมษายน
     - งานประจำปีวัดวังตะกู (งานวันรำลึกหลวงปู่บิน) ประมาณเดือน พฤษภาคม
     - ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน พฤศจิกายน
     - ประเพณีวันเข้าพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม
     - ประเพณีวันออกพรรษา ประมาณเดือน ตุลาคม
 
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
     ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสานหมวกโก้ยโล้ย ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู
มีการใช้ภาษาถิ่นกลางในการสื่อสารและติดต่อราชการ
 
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
     ขนมเปี๊ยะแม่เอย / ขนมจีบ
 
 






























การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การบริการพื้นที่
 
การคมนาคมขนส่ง
 
การไฟฟ้า
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูมีกระแสไฟฟ้าใช้ครบทุกหมู่บ้าน การให้บริการกระแสไฟฟ้าเป็นหน้าที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู รับผิดชอบเฉพาะในการดำเนินการติดตั้ง ซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายในการซื้อกระแสไฟฟ้า ตลอดจนอุปกรณ์เพื่อบริการแสงสว่างตามถนน ซึ่งเป็นไฟฟ้าสาธารณะเท่านั้น
 
การประปา
     องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูมีระบบประปาผิวดินตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 ให้บริการประชาชน ปัจจุบัน
ใช้น้ำจากคลองชลประทาน และมีถังตกตะกอน โรงกรองน้ำใส โรงสูบน้ำ หอถังสูงถังเก็บน้ำใส
เพื่อผลิตน้ำประปาผิวดินให้บริการประชาชนทุกหมู่บ้าน
 
โทรศัพท์
     ปัจจุบันประชาชนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่ โดยในเขตตำบลวังตะกูมีสำนักงานของ
องค์การโทรศัพท์ จำนวน 1 แห่ง
 
ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
โดยสภาพแล้ว ตำบลวังตะกูอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอเมืองนครปฐม
การใช้บริการด้านไปรษณีย์จึงขึ้นอยู่กับสำนักงานไปรษณีย์ อำเภอเมืองนครปฐม และในปัจจุบัน
มีบริษัทเอกชนเปิดให้บริการด้านขนส่งวัสดุและครุภัณฑ์หลายแห่ง
 
สาธารณสุข
     - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1   แห่ง
     - สถานพยาบาลเอกชน 1   แห่ง
     - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100
 
ทรัพยากรธรรมชาติ
 
น้ำ
     แหล่งน้ำธรรมชาติ
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู มีคลองธรรมชาติ 2 คลอง ได้แก่ คลองเจดีย์บูชา
และคลอง วังตะกู
     แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 3 ประเภท คือ
          1. คลองส่งน้ำชลประทาน 2 คลอง เพื่อใช้ในการเกษตร
          2. แหล่งน้ำจากบ่อบาดาล เพื่อใช้ในการเกษตร
          3. แหล่งน้ำประปาผิวดิน เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค
ป่าไม้
     สภาพพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา
 
ภูเขา
     สภาพพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา
 
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     ทรัพยากรดิน สภาพดินในพื้นที่ตำบลวังตะกูมีสภาพเช่นเดียวกับสภาพทั่วไปของดินในเขตอำเภอเมืองนครปฐม คือ เป็นดินเหนียวและดินปนทราย การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่อาศัยและทำเกษตรกรรม
     ทรัพยากรน้ำ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกู มีแหล่งน้ำธรรมชาติ 2 แห่ง คือ คลองวังตะกู และคลองเจดีย์บูชา อดีตเคยใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการเดินทางขนส่งสินค้าและใช้น้ำเพื่อการเกษตร แต่ปัจจุบันไม่ได้ใช้เพื่อการคมนาคมแล้ว คงใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพียงอย่างเดียว
 






























ข้อมูลหน่วยงานและอำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ อบต.

     องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะกูมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบล ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน ดังนี้     
     
     มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
 
     มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฏหมาย องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
     1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
     1/1 รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร และส่งเสริมสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
     2. รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
     3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
     4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
     5. จัดการ ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการฝึกอบรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งการจัดการหรือสนับสนุนการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กตามแนวทางที่เสนอแนะจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
     6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
     7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
     9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
 
     มาตรา 68 องค์การบริหารส่วนตำบลอาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้
     1. ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
     2. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
     3. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
     4. ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
     5. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
     6. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
     7. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
     8. การคุ้มครองและดูแลรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
     9. หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
     10. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
     11. กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
     12. การท่องเทียว
     13. การผังเมือง
 
     อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
     มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
     1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
     2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
     3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
     4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
     5. การสาธารณูปการ
     6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
     7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
     8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
     9. การจัดการศึกษา
     10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
     11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
     12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
     13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
     14. การส่งเสริมกีฬา
     15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
     16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
     17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
     18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
     19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
     20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
     21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
     22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
     23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ
     24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     25. การผังเมือง
     26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
     27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
     28. การควบคุมอาคาร
     29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
     30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
     31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

สำนักงานปลัด

     ให้มีหัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชา  และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานวางแผนอัตรากำลัง  งานกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน  งานบรรจุแต่งตั้งการเลื่อนระดับ  งานโอน ย้าย  งานทะเบียนประวัติและบัตร  งานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร  งานประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความชอบ  งานดำเนินการทางวินัย  งานเกี่ยวกับการออกจากราชการ  งานเสนอของเครื่องราชอิสริยาภรณ์  และประกาศเกียรติคุณ  งานธุรการงานสารบรรณกลาง  งานรัฐพิธี  พิธีการต่างๆ
งานประชาสัมพันธ์หน่วยงาน งานรับรอง  งานรักษาความสะอาดและความปลอดภัยสถานที่ราชการ งานด้านนิติการ และดำเนินคดี  งานเกี่ยวกับตราข้อบัญญัติ ระเบียบของหน่วยงาน งานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารงานเกี่ยวกับเรื่องราวร้องทุกข์  งานเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542  งานสาธารณสุข งานเกี่ยวกับการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานเกี่ยวกับการประชุมกรรมการต่างๆ งานสิทธิสวัสดิการทะเบียนประวัติ  การพัฒนาอบรมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน  งานส่งเสริมประชาธิปไตย  งานเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานจัดทำระบบข้อมูล  งานจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี  งานเกี่ยวกับโครงการเงินอุดหนุนต่างๆราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการใด  งานอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

กองคลัง

     มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ บำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภท ทะเบียนคุมเงินรายได้และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการเบิกจ่าย งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของเทศบาล และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย

กองช่าง

     ให้มีผู้อำนวยการกองช่างองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนโยธาองค์การบริหารส่วนตำบล   มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ  งานสำรวจและจัดทำโครงการ  งานออกแบบและเขียนแบบ  งานตรวจสอบการก่อสร้าง  งานรวบรวมจัดเก็บประวัติโครงการต่างๆ งานการควบคุมอาคาร  งานจัดทำแผนที่และแผนผังต่างๆ  งานประมาณโครงการต่างๆ  
งานเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลงานของส่วนโยธา  งานกำหนดราคากลางของวัสดุและ
งานต่างๆ ของท้องถิ่น  งานวางแผนการปฏิบัติงานก่อสร้างและซ่อมแซมบำรุงงานควบคุมการก่อสร้าง 
งานคุมการซ่อมแซมและบำรุงรักษาพัสดุและทรัพย์สิน  งานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค  งานเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  งานระบายน้ำ  งานสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบล  งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

     กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม  มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค การสุขาภิบาลอื่น ๆ
ตามแผนการสาธารณสุข และข้อบังคับตำบล การวางแผนการสาธารณสุข การประมวลและวิเคราะห์
ข้อมูลทางสถิติที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุข งานด้านสิ่งแวดล้อม การให้บริการสาธารณสุข การควบคุม
การฆ่าสัตว์ จำหน่ายเนื้อสัตว์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

     ให้มีผู้อำนวยการกองการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกองการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล  มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
งานส่งเสริมการกีฬา  วัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น งานส่งเสริมการศึกษา
งานสังคมสงเคราะห์ งานห้องสมุดประชาชน งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
























• ตรวจสอบภายใน

• วัฒนธรรมองค์กร

- > มาตรฐานการให้บริการ

- > มาตรฐานการปฏิบัติงาน

• การให้บริการ